ทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติและอาณาเขต
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่ามีความหมายถึง "นครอันเป็นสง่าแห่งพระ ราชาผู้ทรงธรรม" มี 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง อำเภอสิชล อำเภอหัวไทร อำเภอลานสกา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอพรหมคีรี อำเภอขนอม อำเภอบางขัน อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอพระพรหม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ กิ่งอำเภอนบพิตำ และกิ่งอำเภอช้างกลาง
สัญลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราประจำจังหวัด :
เป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์ ตามปีนักษัตรล้อมรอบ หมายถึง ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่17-18 มีทั้งหมด12 เมือง
ความหมายจังหวัด : นครอันงามสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกราชพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นแซะ
นกประจำจังหวัด : นกกินปลีหางยาวเขียว
เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู่ในการดำเนินการ เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย โดยได้สำรวจและเก็บข้อมูลเบื้องต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยได้กำหนดที่ดินบางส่วนของป่าคลองธง คลองเหรง ป่าเขาออก ป่าเขาท้องโหนด ป่าเขาไชยสน ป่าเลนคลองขนอม เขาฝีหาย ป่าเขาวัง ป่าเขากรด ป่าไชยคราม-วัดประดู่ ป่าเขาหัวช้าง และหมู่เกาะ 8 เกาะ ได้แก่ เกาะมัดแตง เกาะมัดโกง เกาะราบ เกาะหัวตะเข้ เกาะวังนอก เกาะวังใน เกาะน้อย และ เกาะท่าไร่ ในท้องที่อำเภอสิชล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เกาะกระ
เป็นอีกเกาะหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวไทย จ.นครศรีธรรมราช นับว่าเป็นเกาะที่
สวยงามคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ท้องทะเล เหมาะแก่การเที่ยวชมของผู้ที่รักใน
การดำน้ำ หรือผู้ชอบพักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติที่เงียบสงบ
นครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 780 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง เครื่องบิน และรถไฟ
การเดินทางไป นครศรีธรรมราช
โดยรถไฟ:
มีรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเร็ว และรถด่วน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th
โดยรถยนต์:
จากกรุงเทพฯ ไปนครศรีธรรมราชได้ 2 เส้นทาง คือ
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพร แล้วเปลี่ยนมาใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ จนถึงนครศรีธรรมราช
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อถึงชุมพรเดินทางต่อไปทางหลวงหมายเลข 41 มุ่งสู่สุราษฎร์ธานี จากสุราษฎร์ธานีเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ 780 กิโลเมตร
โดยรถประจำทาง:
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com
โดยเครื่องบิน:
สายการบินนกแอร์มีเที่ยวบินไป-กลับนครศรีธรรมราชทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 1318, 0 2900 9955 เว็บไซต์ www.nokair.com
สายการบินไทยแอร์เอเชียมีเที่ยวบินไป-กลับนครศรีธรรมราช ออกทุกวัน สอบถามข้อมูลได้ที่โทร. 0 2515 9999 เว็บไซต์ www.airasia.com
การเดินทางภายใน นครศรีธรรมราช
ในตัวเมืองนครศรีธรรมราชมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 1125
นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น ในอำเภอลานสกา นบพิตำ ทุ่งสง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง
ระยะทางจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอพระพรหม 15 กิโลเมตร
อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร
อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร
อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร
อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร
ที่มา : http://www.kmitl.ac.th/~s9010347/nakhonsithammarat%20history.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น