ทะเลจังหวัดกระบี่
ที่ตั้ง
เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา
จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง
ตราประจำจังหวัด
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทุ้งฟ้า (Acacia catechu)
คำขวัญประจำจังหวัด: กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
อักษรย่อจังหวัด : กบ.
บริเวณ หมู่เกาะพีพี ส่วนใหญ่เป็นเกาะ ที่เป็นภูเขาหิน และหน้าผาสูงชัน มีต้นไม้ปกคลุมขึ้นตามซอกหิน ไม้ที่ขึ้นเป็นไม้ขนาดเล็กและแคระแกรน บริเวณหน้าผาจะมีปะการังที่สวยงาม บริเวณหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง ประกอบไปด้วยภูเขา ป่าบก ป่าเลน ที่ราบชายหาดและหมู่เกาะต่างๆ บนบกจะปกคลุมด้วยไม้เล็กไม้ใหญ่มากมายหลายชนิด
บริเวณสุสานหอย 40 ล้านปี ส่วนที่สำคัญอยู่ริมฝั่งทางตะวันตก มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้าง 50 เมตร เป็นแผ่นหอยที่เกาะตัวกันจนแข็งเป็นแผ่นหินสลับกับชั้นของถ่านลิกไนต์ หนาประมาณชั้นละ 10 นิ้ว
ลักษณะภูมิอากาศ
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
การเดินทาง
รถยนต์
เครื่องบิน
สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวไปตามเกาะต่างๆ มีเรือของภาคเอกชนให้บริการดังนี้
ข้อมูลราคาค่าโดยสาร : เดือนกันยายน 2549
รถโดยสารประจำทาง
ประวัติศาสตร์
จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง
ตราประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึงเทือกเขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น ทะเล หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของกระบี่ ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทุ้งฟ้า (Acacia catechu)
คำขวัญประจำจังหวัด: กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
อักษรย่อจังหวัด : กบ.
บริเวณ หมู่เกาะพีพี ส่วนใหญ่เป็นเกาะ ที่เป็นภูเขาหิน และหน้าผาสูงชัน มีต้นไม้ปกคลุมขึ้นตามซอกหิน ไม้ที่ขึ้นเป็นไม้ขนาดเล็กและแคระแกรน บริเวณหน้าผาจะมีปะการังที่สวยงาม บริเวณหาดนพรัตน์ธารา-อ่าวพระนาง ประกอบไปด้วยภูเขา ป่าบก ป่าเลน ที่ราบชายหาดและหมู่เกาะต่างๆ บนบกจะปกคลุมด้วยไม้เล็กไม้ใหญ่มากมายหลายชนิด
บริเวณสุสานหอย 40 ล้านปี ส่วนที่สำคัญอยู่ริมฝั่งทางตะวันตก มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้าง 50 เมตร เป็นแผ่นหอยที่เกาะตัวกันจนแข็งเป็นแผ่นหินสลับกับชั้นของถ่านลิกไนต์ หนาประมาณชั้นละ 10 นิ้ว
หาดนพรัตน์ธาดา
เกาะยูง
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน มีชายหาดเป็นหาดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีหาดทรายเล็กน้อยตามหลืบเขา นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังสวยงามชนิดต่าง ๆเกาะพีพีดอน
มีเนื้อที่ประมาณ 28 ตรกม. ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเลประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ มีธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาด ยาวและหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร (รูปซ้ายมือ) และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมากบริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
เกาะไผ่
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน ไม่ไกลจากเกาะยุงเท่าใดนัก ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกมีหาดทรายสวยงาม และแนวปะการังซึ่งส่วนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาว ไปถึงทางทิศใต้ของเกาะ ช่วงเวลาเหมาะการเที่ยวหมู่เกาะพีพี คือช่วงที่ไม่มีลมมรสุม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปีประกอบด้วยพื้นที่ภาคพื้นดินบนชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเขาอ่าวน้ำเมา และป่าอ่าวนาง-หางนาค และหมู่เกาะต่างๆ ธรณีสัณฐานของพื้นที่เป็นเทือกเขามีความสูงชันเรียงตัวยาวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณชายฝั่งเป็นเขาสูงชัน ทางด้านตะวันตกมีความลาดชันมากกว่าตะวันออก ธรณีสัณฐานของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากแนวการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เรียกว่า Indosenia Teotonic Movement และในบริเวณป่าชายเลนเขาหางนาค ริมฝั่งทะเลมีลำคลองเขากลม ได้รับน้ำจืดที่ระบายมาจากบึงขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "หนองทะเล" ทำให้เกิดสภาพป่าชายเลน และที่ราบต่ำป่าเสม็ดบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่เรียกว่า "คลองแห้ง" (หาดนพรัตน์ธารา)
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเขตร้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ลักษณะภูมิอากาศจึงแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝน จากต้นเดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม และฤดูร้อนจากต้นเดือนมกราคม-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 17-37 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเฉลี่ยประมาณ 2,231 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
สำหรับพรรณไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ ปรากฏพบบริเวณที่เป็นเขาสูงชัน บริเวณเขาหางนาค บริเวณเขาอ่าวนาง บริเวณทิศตะวันตกของเกาะพีพีดอน และบริเวณเกาะพีพีเลส่วนใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 33 ตารางกิโลเมตร เป็นไม้แคระแกร็นเนื่องจากพื้นที่เป็นเขาหินปูนซึ่งมีชั้นดินบางและรับลมแรง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ยาง พะยอม และพืชชั้นล่างพวกจันทน์ผา หวาย ไทร และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ
ป่าชายเลน มีอยู่ในบริเวณคลองแห้ง ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาหางนาค และบริเวณคลองย่านสะบ้า ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณสุลานหอย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง แสม ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว
ป่าพรุ เป็นสังคมพืชเด่นที่พบต้นเสม็ดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นสมบูรณ์ ปรากฏอยู่เฉพาะบริเวณหาดนพรัตน์ธาราเป็นบริเวณแคบๆ ประมาณ 0.32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เป็นหาดทรายผสมดินร่วนได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหรือเป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน พันธุ์พืชที่พบนอกจากเสม็ดขาวที่ขึ้นอยู่หนาแน่นแล้วได้แก่ พะยอม หว้าหิน นน เนียน และหญ้าคา
นอกจากนี้ในบริเวณอ่าวนางยังสำรวจพบหญ้าทะเล 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าผมนาง หญ้าใบมะกรูด และหญ้าเต่า
จากสภาพภูมิอากาศและสังคมพืชที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติทำให้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่สัตว์บางประเภท สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ หมูป่า กระจง ลิง ค่าง โลมาหัวขวด โลมาหัวขวดมลายู โลมาหัวบาตร โลมาจุด และโลมาขาว
นก ประกอบด้วย นกโจรสลัด เหยี่ยวแดง นกออก นกนางแอ่นกินรัง นกนางนวล
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าตนุ เต่ากระ เต่าสังกะสี ตะพาบหัวกบ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน กิ้งก่า งูชนิดต่างๆ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ คางคก อึ่งอ่าง กบ เขียด และปาด
นอกจากนี้ทรัพยากรในท้องทะเลยังประกอบด้วย ปลากระเบน ปลากระโทงแทง ปลาเก๋า ปลากะรังลายขนนก ปลากะพง ปลามง ปลาไหลทะเล ปลาสินสมุทร ปลาผีเสื้อ ปลานกขุนทอง หอยมือหมี หอยนางรม กุ้ง ปลิงทะเล ดาวทะเล หอยเม่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง เช่น ปะการังหนาม ปะการังนิ้วมือ ปะการังดอกไม้ ปะการังเขากวาง ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังผิวถ้วยเคลือบ ปะการังดอกไม้แปลง ปะการังเห็ด ปะการังผักกาด ปะการังอ่อน เป็นต้น
รถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ รวมระยะทางประมาณ 946 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา เข้าอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4035 ผ่านอำเภออ่าวลึก ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ 814 กิโลเมตร
จากจังหวัดกระบี่ ไปตามถนนสายในเมือง-ในสระ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตรจากตัวเมืองกระบี่ถึงหาดนพรัตน์ธาราฯ จากนั้นใช้เส้นทางเลียบชายทะเลที่เชื่อมระหว่างหาดนพรัตน์ธาราฯ และหาดบ้านอ่าวนางไปทางทิศใต้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร สำหรับไปชมอ่าวพระนางต้องนั่งเรือประมาณ 20 นาที และจากหาดนพรัตน์ธาราฯ มีทางแยกไปสุสานหอย 75 ล้านปี ระยะทาง 11 กิโลเมตร
จากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มาลงที่สนามบินจังหวัดกระบี่ จะมีแท็กซี่หรือรถประจำทางให้บริการ แต่ต้องมาขึ้นรถที่หน้าสนามบิน โดยแท็กซี่จะส่งถึงที่ ส่วนราคาก็แล้วแต่จะตกลงราคากัน สำหรับรถประจำทางต้องมาลงที่ในเมืองก่อน จากนั้นจึงต่อรถประจำทางสายกระบี่ - อ่าวนาง ก็จะถึงที่ทำการและที่พักอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่บริเวณหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (ผ่านอ่าวนาง)
เรือ
จากจังหวัดกระบี่ มีเรือโดยสารที่ท่าเรือเจ้าฟ้า หรือที่ท่าเรืออ่าวพระนาง ระยะทาง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 - 2.00 ชั่วโมง การเดินทางโดยเรือจากจังหวัดภูเก็ต ก็มีระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร หรือจะโดยสารเรือที่ท่าเรือฉลอง อ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 - 2.00 ชั่วโมง ก็ได้เช่นกัน
1. เดินทางไปเกาะพีพี ขึ้นเรือที่ท่าเรือคลองแห้ง ซึ่งอยู่หลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีบริการวันละ 1 เที่ยว ออกเวลา 09.00 น. กลับเวลา 15.00 น. ซึ่งมีเรือให้เลือก 2 แบบ คือ 1) แบบเรือทัวร์ ค่าโดยสาร คนละ 1,200 บาท มีอาหารมื้อเที่ยง น้ำ ผลไม้ ให้บริการ มีกิจกรรมเล่นน้ำ ดูปะการังด้วย และ 2) แบบเรือโดยสาร ค่าโดยสาร คนละ 700 บาท ไม่มีบริการอะไร
2. เดินทางไปท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง จะมีเรือหางยาวบริการ ซึ่งจอดอยู่ทั่วไปบริเวณอ่าวนาง คิดราคาค่าบริการแบบเหมา 1) เหมาเต็มวันคิดราคา 2,000 บาท เหมาครึ่งวันคิดราคา 1,500 บาท เรือลำหนึ่งสามารถนั่งได้ไม่เกิน 8 คน มีเสื้อชูชีพให้ใส่ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว
รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มาลงได้ทั้งที่สถานีรถไฟ จังหวัดตรัง สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือสถานีรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นต่อรถโดยสารเข้าจังหวัดกระบี่ ต่อรถประจำทางสายกระบี่ - อ่าวนาง ก็จะถึงที่ทำการและที่พักอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่บริเวณหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (ผ่านอ่าวนาง)
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง สามารถติดต่อซื้อตั๋วได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ มีบริษัทเดินรถ 2 บริษัท คือบริษัทขนส่ง จำกัด และบริษัทลิกไนท์ทัวร์ ลงที่ตัวตัวหวัดกระบี่ จากนั้นจึงต่อรถประจำทางสายกระบี่ - อ่าวนาง ก็จะถึงที่ทำการและที่พักอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่บริเวณหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (ผ่านอ่าวนาง)
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น