ทะเลจังหวัดสงขลา
ประวัติ
สงขลา เป็นเมืองที่สำคัญมากเมืองหนึ่งในภาคใต้ของไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่างด้วยกัน เช่น ขวานหินขัด เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ และหม้อสามขา เป็นต้น ในเขตอำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเมือง ฯ ในสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณได้พบหลักฐานความเจริญในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยมีเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นเมืองท่าค้าขาย
ติดต่อกับจีน อินเดีย มลายู ชวา ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นศูนย์กลางการค้ากับนานาชาติ พ่อค้าจากตะวันออก และตะวันตก ได้เดินทางเข้ามาค้าขายบางพวกได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมืองสงขลาจึงเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายแห่งหนึ่ง
จากหลักฐานพบว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว หลักฐานส่วนใหญ่พบตามถ้ำและเพิงหินบนภูเขา ทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ของจังหวัด พบภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาภาชนะเผาลายเชือกทาบ ขวานหินขัด โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ในสมัยหินใหม่ฝังอยู่ในถ้ำและเพิงหินทางทิศเหนือของเขารักเกียรติ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ พบภาขนะดินเผาลายเชือกทาบ ในสมัยหินใหม่เป็นจำนวนมาก ที่เขารูปช้าง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา พบขวานหินขัดที่บ้านควนตูล อำเภอเมือง ฯ ที่ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย และที่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ชนชาติจีนและอินเดีย ได้นำวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ เมื่อผสมกับวัฒนธรรมเดิม จึงได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของสงขลา ชุมชนค่อย ๆ เจริญขึ้นเป็นชุมชนเมืองท่าในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ
เมืองสทิงพระ มีกำเนิดและพัฒนาการมาอย่างไร ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีเอกสารเพลานางเลือดขาว เรียกเมืองสทิงพระว่ากรุงสทิงพาราณสี และเจ้าพระยาสทิงพระ ชื่อว่าเจ้าพระยากรุงสทิงพาราณสี เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 ในสมัยตามพรลิงค์และสมัยศรีวิชัย เมืองสทิงพระได้ปกครองดูแลเมืองเล็กเมืองน้อยที่ตั้งอยู่โดยรอบทะเลสาบสงขลา และริมคลองที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเมืองพัทลุง ที่อยู่ในปกครองของเมืองสทิงพระ
คำขวัญ/สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
รูปหอยสังข์บนพานแว่นฟ้า หมายถึง รูปหอยสังข์ซึ่งยังค้นหาหลักฐานของความหมายได้ไม่แน่ชัด แต่บุคคลบางคนบอกที่มาของตราประจำจังหวัดนี้ว่า เดิมเคยเป็นตรากระดุมเสื้อฉลองพระองค์ ของกรมหลวงสงขลานครินทร์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมบรมชนกนาถ ต่อมากรมศิลปากรออกแบบตราสังข์ ใช้เป็นเครื่องหมายตราจังหวัดสงขลา
จังหวัดสงขลา ใช้อักษรย่อว่า "สข"
คำขวัญจังหวัดสงขลา
"นกน้ำเพลินตา
สมิหลาเพลินใจ
เมืองใหญ่สองทะเล
เสน่ห์สะพานป๋า
ศูนย์การค้าแดนใต้"
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.
ชื่อวงศ์ : Miliaceae
ชื่อสามัญ : สะเดาเทียม
ชื่อทางการค้า : -
ชื่อพื้นเมือง : เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)
ลักษณะ :
ไม้ต้นสูง ๓๐ - ๔ เมตร เปลือก เรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบเป็นรูปขนนก
ก้านใบยาว ๒๐ - ๖ เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกันเล็กน้อย จำนวน ๗ - ๑ คู่
แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง ๓ - ๔ เซนติเมตร ยาว ๕ - ๘ เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน
ดอกออกรวมเป็นช่อ ตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมี เมล็ดเดียว
ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา
ประโยชน์ เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบ ทุกส่วน
เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง
แหลมสมิหลา
แหลมสมิหลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดสดเทศบาลประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด
และทิวสนอันร่มรื่น มีร้านขายอาหารอยู่มาก การเดินทางจากหาดใหญ่ใช้รถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในตัวเมืองสงขลาก็มีรถสองแถว บริการจากตัวเมืองไปยังชายหาดในราคาไม่แพงนัก
แหลมสนอ่อน
แหลมสนอ่อน ติดกับแหลมสมิหลา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้านทิศตะวันตกของแหลมสนอ่อน เป็นทะเลสาบสงขลา บริเวณรอบๆ แหลมสนอ่อนมีถนน สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งทะเลหลวงและทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีสวนสนซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและนั่งพักรับประทานอาหาร
ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอน บางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ
ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้ บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน
เกาะยอ
สะพานติณสูลานนท์
สะพานติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงที่เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวง 408 สายสงขลา-ระโนด โดยสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา แบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่ง อ.เมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับเกาะยอตอนใต้ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งทั้งสิ้น 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529 สะพานแห่งนี้ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องเดินทางแวะชมควบคู่ไปกับการมาท่องเที่ยวและรับประทานอาหารที่เกาะยอ
รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th หรือที่สถานีรถไฟหาดใหญ่
โทร. 0 7424 3705, 0 7423 8005
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ และกรุงเทพฯ-สงขลาบริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 13 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมติดต่อขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199-200 (ปรับอากาศ) และ โทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) หรือ www.transport.co.th หรือหาดใหญ่ ติดต่อบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 7423 2789, 0 7423 2404 บริษัท ปิยะทัวร์ จำกัด
โทร. 0 7442 8972 บริษัท ไทยเดินรถ จำกัด โทร. 0 7442 9525
เครื่องบิน
มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ -หาดใหญ่ ทุกวัน สอบถามตารางบินและ ข้อมูลเพิ่มเติม จาก สายการบินต่างๆ ดังนี้
- บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 หรือ www.thaiairways.com
หรือสำนักงานหาดใหญ่ โทร. 0 7424 5851-2, 0 7423 3433
- สายการบิน นกแอร์ โทร.1318 หรือ www.nokair.co.th
- สายการบินแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com
และมีเที่ยวบินระหว่าง ภูเก็ต-หาดใหญ่ ทุกวัน โดยสายการบินภูเก็ตแอร์ โทร. 0 2679 8999 หรือ www.phuketairlines.com
การเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ โดยขึ้นรถที่สถานีเดินรถที่อำเภอหาดใหญ่ บริษัท โพธิ์ทองขนส่ง จำกัด โทร. 0 7431 1126 (เดินรถระหว่างสงขลา-หาดใหญ่) บริษัท ระโนด ขนส่ง โทร. 0 7431 1523 (เดินรถระหว่างสงขลา-นครศรีธรรมราช)
ที่มา : http://www.songkhla.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=32&Itemid=12
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น