ทะเล

จาก ทะเล

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

ทะเลจังหวัดสตูล

ทะเลจังหวัดสตูล

ประวัติ



     จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า "สตูล" มาจากคำภาษามลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อนซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง "นครสโตยมำบังสการา" (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

สัญญาลักษณ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกาหลง (Bauhinia acuminata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมากพลูตั๊กแตน (Dalbergia bariensis)
คำขวัญประจำจังหวัด: สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
คำขวัญประจำจังหวัด (เดิม) : ตะรุเตา ไก่ดำ จำปาดะ คนใจพระ งามเลิศ เชิดสตูล

ขนาดและที่ตั้ง

    จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ



อุทยานแห่งชาติตะรุเตา 





      เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติ และตั้งอยู่ในเขตทะเลอันดามัน เดือนที่เหมาะแก่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เกาะตะรุเตา มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม ้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก

อุทยานแห่งชาติทะเลบัน 






      เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล ถึงแม้จะมีชื่อว่าทะเลบัน แต่ไม่ใช่อุทยานแห่งชาติทางทะเล แต่เป็นการเรียกชื่อหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการยุบตัวของพื้นดินในอดีต




อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา








 เมื่อปี 2525 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เห็นว่า สภาพธรรมชาติที่เป็นเกาะแก่ง หาดทรายชายทะเล ในบริเวณชองแคบมะละกา เขตจังหวัดสตูล ยังมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์อยู่มาก น่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณหมู่เกาะเภตรา ปรากฏว่า มีสภาพเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตรา และเกาะเขาใหญ่ สภาพป่าสมบูรณ์ ทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการัง หาดทรายขาวสะอาด มีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา ทั้งเป็นที่วางไข่และอยู่อาศัยของเต่าทะเลหลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้


กองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตำบลตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลแหลมสน และตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร





การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป จ.สตูล

รถยนต์

     จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านเข้าเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง จากพัทลุงไปอำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 406 ถึงจังหวัดสตูล ระยะทาง 973 กิโลเมตร

รถไฟ

     สามารถเดินทางไปกับขบวนรถกรุงเทพฯ-ยะลา หรือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ได้ โดยลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถแท็กซี่ รถจอดที่ใต้สะพานลอย หน้าที่ทำการไปรณีย์ สาขารัถการ หรือรถตู้โดยสาร หรือนั่งรถโดยสารประจำทางเข้าจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 223-7010, 223-7020 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง

     มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดา กรุงเทพฯ-สตูล ทุกวัน รถออกที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444 หรือ www.transport.co.th

เครื่องบิน

     ไม่มีเที่ยวบินบินตรงไปจังหวัดสตูล แต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางจากตัวอำเภอหาดใหญ่เข้าจังหวัดสตูลอีกประมาณ 97 กิโลเมตร




ที่มา : http://www.ezytrip.com/travel/000470.htm

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

ทะเลจังหวัดสุราษฏร์ธานี

ทะเลจังหวัดสุราษฏร์ธานี


ประวัติ


      จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลายหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่นเกาะสมุย เกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช  แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย
ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย

สัญญาลักษณ์ประจำจังหวัด


 ตราประจำจังหวัด คือ พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย 
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) ตั้งอยู่อำเภอพนม
คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี: "สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าทองอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย"

เกาะสมุย


        ในอดีตคนไทยรู้จักเกาะสมุยว่ามีมะพร้าวพันธุ์ดีมากที่สุดปัจจุบันนักท่องเที่ยวทั่วโลกเรียกขานเกาะสมุยว่า สวรรค์กลางอ่าวไทยเกาะสมุยมีหาดทรายขาวสวยขนานไปกับทะเลและทิวมะพร้าวริมชายหาดเกือบรอบเกาะ เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่สร้างความหลงไหลให้กับผู้มาเยือน โรงแรมสมุยกลายเป็นหนึ่งในที่พักอันดับต้นๆที่มีการจองเข้ามาทั้งจากภายในและต่างประเทศ ไม่เพียงเกาะสมุยเท่านั้นบรรดาเกาะบริวารและหมู่เกาะใกล้เคียงก็ล้วนมีทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง จนนักท่องเที่ยวที่มาสมุยรู้สึกถึงความคุ้มเกินค่าการเดินทาง แต่ละหาดบนเกาะมีบรรยากาศการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไปเช่นหาดเฉวงมีทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส เหมาะแก่การเล่นน้ำ หาดละไมมีอ่าวโค้งสวยงาม หาดตลิ่งงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดบนเกาะ ไม่เพียงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเท่านั้นเกาะสมุยยังพร้อมไปด้วยที่พักร้านอาหาร บริการนำเที่ยว สถานบรรเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันการเดินทางไปยังเกาะสมุยนั้นสะดวกมาก มีทั้งเรือโดยสารเรือเฟอร์รี่ข้ามฝั่งที่ออกเกือบทุกชั่วโมงและยังมีเที่ยวบินตรงมายังเกาะสมุยอีกด้วย

หาดตลิ่งงาม 



      อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ ด้านหน้าของอ่าวเป็นที่ตั้งของเกาะสี่ เกาะห้า ตอนเหนือของอ่าวเป็นท่าเรือเฟอร์รี่เดินระหว่างท่าดอนสัก - เกาะสมุย ถัดมาทางใต้เป็นหาดที่มีชื่อเสียงในการชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดของเกาะ มีมุมมองที่เห็นภาพดวงอาทิตย์ตกลงระหว่างเกาะสี่ - เกาะห้า ค่อยๆหายลับขอบฟ้าที่ตัดกับน้ำทะเล เกิดเป็นภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม ในช่วงเย็นจึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมารอชมและถ่ายรูปที่ หาดนี้กันมาก บริเวณหาดแห่งนี้ยังเป็นจุดหาเช่าเรือเดินทางไปยังเกาะสี่ - เกาะห้า เพื่อดำน้ำ ชมปะการัง หรือพักผ่อนด้วยการตกปลาก็ได้

เกาะแตน 



     ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลตลิ่งงาม บริเวณตอนใต้ของเกาะสมุย เป็นเกาะที่งดงามด้วยธรรมชาติอันเงียบสงบ ชายหาดยาวทิวมะพร้าวเรียงราย ทางฝั่งตะวันออกของเป็นชายหาดยาวขนานกับแนวปะการังชายฝั่ง เรียกว่า อ่าวออก ส่วนฝั่งตะวันตกเป็นอ่าวปิด มีป่าชายเลนไม่กว้างนักและหาดหิน เรียกว่า อ่าวตก มีแนวปะการังและชายฝั่งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ สิ่งที่น่าสนใจบนเกาะนี้คือไม่มีสุนัขอาศัยอยู่บนเกาะ มีการสันนิฐานกันหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเพราะเป็นเกาะศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพารักษ์ไม่ต้องการสุนัข หรือการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เช่น เกาะแตน มีคลื่นเสียง สนามแม่เหล็ก หรือเชื้อโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อสุนัข เป็นต้น จนไม่มีใครกล้าจะนำสุนัขมาลองเลี้ยงดู เพราะไม่เคยมีสุนัขตัวไหนมีชีวิตอยู่รอดได้ นอกจากนั้นบริเวณเกาะใกล้เคียง เช่น เกาะมัดสุม เกาะมดแดง มีแนวปะการังน้ำตื้นที่สวยงามสามารถดำน้ำตื้นได้ บนเกาะมีที่พักบริการนอกจากความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติบนเกาะแล้ว เกาะแตนยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 4 เส้นทาง ซึ่งทุกเส้นทางนักท่องเที่ยวจะเห็นความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและความเป็นอยู่ของชาวเกาะแตน โดยเฉพาะ 3 เส้นทางแรกจะได้พบกับนกหลากชนิดที่อาศัยอยู่บนเกาะแตน จึงควรที่จะเตรียมกล้องส่องดูนก กล้องถ่ายรูป และสมุดบันทึกติดตัวไปด้วยเพื่อเป็นการบันทึกความทรงจำและความประทับใจที่ได้พบ สำหรับเส้นทางที่ 4 เป็นเส้นทางทางทะเล จะได้พบความสวยงามของใต้ทะเลและชายฝั่งของเกาะแตนทั้งบนบกและในน้ำ

เกาะเต่า





      เป็นเกาะที่ตั้งโดดเดี่ยวในอ่าวไทย อยู่ห่างจากอำเภอเกาะพะงัน 45 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในอดีตกรมราชทัณฑ์ได้ใช้เป็นเรือนจำกักขังนักโทษการเมือง (กบฎบวรเดช) สมัยการปกครองของคณะราษฎร์ เกาะเต่ามีประชาชนมาอาศัยตั้งแต่ปี 2490 เป็นเกาะที่มีธรรมชาติและความสมบูรณ์ของชีวิตใต้ทะเล สวยงามด้วยแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก ปลาหลากชนิดสีสวย ๆ มากมายที่นักดำน้ำจะต้องนึกถึง และชายหาดที่มีหาดทรายขาวสวยสงบน่าพักผ่อนหลายหาด มีโรงเรียนสอนดำน้ำมากมายที่สามารถผลิตนักดำน้ำได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศ

ข้อมูลการเดินทางมาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 4 โดยผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 41 จนถึงสุราษฎร์ธานี รวมระยะทาง 685 กิโลเมตร

- รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการเดินรถทุกวัน ระยะทาง 650 กิโลเมตร ผู้โดยสารต้องไปลงที่สถานีรถไฟอำเภอพุนพิน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจำทางหรือแท็กซี่เข้าตัวจังหวัด ระยะทาง 13 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน โทร. 0 7731 1213 www.raiway.co.th 

- เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีบริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานีทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทร. 0 7727 2610, 0 7727 3710 ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี โทร 0 7725 3500 ต่อ 262 www.thaiairways.com นอกจากนี้ บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด เปิดบริการเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย ทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2265 5555 หรือ เกาะสมุย โทร. 0 7742 2512-8 www.bangkokairways.com 


- การเดินทางจากจังหวัดใกล้เคียง รถโดยสารประจำทาง จากสุราษฎร์ธานีมีรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช หาดใหญ่ กระบี่ ภูเก็ต และรถโดยสารธรรมดาไปจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทางภาคใต้ รายละเอียดติดต่อที่สถานีขนส่ง ถนนสุราษฎร์ธานี-พุนพิน โทร. 0 7720 0032-3
รถไฟ จากสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน มีรถไฟไปจังหวัดนราธิวาส ตรัง นครศรีธรรมราช ยะลา ไชยา ชุมพร หัวหิน รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 7731 1213





ที่มา : http://www.aic.sru.ac.th/index.php/2008-10-02-15-39-32

ทะเลจังหวัดสงขลา

ทะเลจังหวัดสงขลา

ประวัติ

 สงขลา เป็นเมืองที่สำคัญมากเมืองหนึ่งในภาคใต้ของไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่างด้วยกัน เช่น ขวานหินขัด เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ และหม้อสามขา เป็นต้น ในเขตอำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเมือง ฯ ในสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณได้พบหลักฐานความเจริญในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยมีเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นเมืองท่าค้าขาย
ติดต่อกับจีน อินเดีย มลายู ชวา ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นศูนย์กลางการค้ากับนานาชาติ พ่อค้าจากตะวันออก และตะวันตก ได้เดินทางเข้ามาค้าขายบางพวกได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมืองสงขลาจึงเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายแห่งหนึ่ง
        จากหลักฐานพบว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เริ่มมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว หลักฐานส่วนใหญ่พบตามถ้ำและเพิงหินบนภูเขา ทางด้านทิศตะวันตก และทิศใต้ของจังหวัด พบภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาภาชนะเผาลายเชือกทาบ ขวานหินขัด โครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ในสมัยหินใหม่ฝังอยู่ในถ้ำและเพิงหินทางทิศเหนือของเขารักเกียรติ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ พบภาขนะดินเผาลายเชือกทาบ ในสมัยหินใหม่เป็นจำนวนมาก ที่เขารูปช้าง ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา พบขวานหินขัดที่บ้านควนตูล อำเภอเมือง ฯ ที่ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย และที่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ชนชาติจีนและอินเดีย ได้นำวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ เมื่อผสมกับวัฒนธรรมเดิม จึงได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของสงขลา ชุมชนค่อย ๆ เจริญขึ้นเป็นชุมชนเมืองท่าในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ
            เมืองสทิงพระ มีกำเนิดและพัฒนาการมาอย่างไร ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีเอกสารเพลานางเลือดขาว เรียกเมืองสทิงพระว่ากรุงสทิงพาราณสี และเจ้าพระยาสทิงพระ ชื่อว่าเจ้าพระยากรุงสทิงพาราณสี   เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 ในสมัยตามพรลิงค์และสมัยศรีวิชัย   เมืองสทิงพระได้ปกครองดูแลเมืองเล็กเมืองน้อยที่ตั้งอยู่โดยรอบทะเลสาบสงขลา และริมคลองที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเมืองพัทลุง ที่อยู่ในปกครองของเมืองสทิงพระ



คำขวัญ/สัญลักษณ์ประจำจังหวัด



รูปหอยสังข์บนพานแว่นฟ้า หมายถึง รูปหอยสังข์ซึ่งยังค้นหาหลักฐานของความหมายได้ไม่แน่ชัด แต่บุคคลบางคนบอกที่มาของตราประจำจังหวัดนี้ว่า เดิมเคยเป็นตรากระดุมเสื้อฉลองพระองค์ ของกรมหลวงสงขลานครินทร์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมบรมชนกนาถ ต่อมากรมศิลปากรออกแบบตราสังข์ ใช้เป็นเครื่องหมายตราจังหวัดสงขลา

จังหวัดสงขลา ใช้อักษรย่อว่า "สข"

คำขวัญจังหวัดสงขลา

"นกน้ำเพลินตา
สมิหลาเพลินใจ
เมืองใหญ่สองทะเล
เสน่ห์สะพานป๋า
ศูนย์การค้าแดนใต้"

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.
ชื่อวงศ์ : Miliaceae
ชื่อสามัญ : สะเดาเทียม
ชื่อทางการค้า : -
ชื่อพื้นเมือง : เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)
ลักษณะ : 
ไม้ต้นสูง ๓๐ - ๔ เมตร เปลือก เรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบเป็นรูปขนนก 
ก้านใบยาว ๒๐ - ๖ เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกันเล็กน้อย จำนวน ๗ - ๑ คู่ 
แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง ๓ - ๔ เซนติเมตร ยาว ๕ - ๘ เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน 
ดอกออกรวมเป็นช่อ ตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมี เมล็ดเดียว 
ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา
ประโยชน์ เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบ ทุกส่วน 
เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง



แหลมสมิหลา 


แหลมสมิหลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดสดเทศบาลประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด 
และทิวสนอันร่มรื่น มีร้านขายอาหารอยู่มาก การเดินทางจากหาดใหญ่ใช้รถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในตัวเมืองสงขลาก็มีรถสองแถว บริการจากตัวเมืองไปยังชายหาดในราคาไม่แพงนัก

แหลมสนอ่อน 


แหลมสนอ่อน ติดกับแหลมสมิหลา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้านทิศตะวันตกของแหลมสนอ่อน เป็นทะเลสาบสงขลา บริเวณรอบๆ แหลมสนอ่อนมีถนน สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งทะเลหลวงและทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีสวนสนซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและนั่งพักรับประทานอาหาร

ทะเลสาบสงขลา 



ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอน บางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ
ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้ บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน

เกาะยอ 



เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ ไปตามเส้นทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4083 ทางไปอำเภอสิงหนคร เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

สะพานติณสูลานนท์ 




สะพานติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงที่เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวง 408 สายสงขลา-ระโนด โดยสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา แบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่ง อ.เมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับเกาะยอตอนใต้ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งทั้งสิ้น 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529 สะพานแห่งนี้ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องเดินทางแวะชมควบคู่ไปกับการมาท่องเที่ยวและรับประทานอาหารที่เกาะยอ


  รถไฟ 
การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ทุกวัน ทั้งรถด่วนและรถเร็ว สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th หรือที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ 
โทร. 0 7424 3705, 0 7423 8005
รถโดยสารประจำทาง 
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ และกรุงเทพฯ-สงขลาบริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 13 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมติดต่อขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199-200 (ปรับอากาศ) และ โทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) หรือ www.transport.co.th หรือหาดใหญ่ ติดต่อบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 7423 2789, 0 7423 2404 บริษัท ปิยะทัวร์ จำกัด
โทร. 0 7442 8972 บริษัท ไทยเดินรถ จำกัด โทร. 0 7442 9525
เครื่องบิน 
มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ -หาดใหญ่ ทุกวัน สอบถามตารางบินและ ข้อมูลเพิ่มเติม จาก สายการบินต่างๆ ดังนี้ 
- บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 หรือ www.thaiairways.com 
   หรือสำนักงานหาดใหญ่ โทร. 0 7424 5851-2, 0 7423 3433 
- สายการบิน นกแอร์ โทร.1318 หรือ www.nokair.co.th 
- สายการบินแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com 
  และมีเที่ยวบินระหว่าง ภูเก็ต-หาดใหญ่ ทุกวัน โดยสายการบินภูเก็ตแอร์ โทร. 0 2679 8999 หรือ www.phuketairlines.com
  การเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ 
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ โดยขึ้นรถที่สถานีเดินรถที่อำเภอหาดใหญ่ บริษัท โพธิ์ทองขนส่ง จำกัด โทร. 0 7431 1126 (เดินรถระหว่างสงขลา-หาดใหญ่) บริษัท ระโนด ขนส่ง โทร. 0 7431 1523 (เดินรถระหว่างสงขลา-นครศรีธรรมราช)




ที่มา : http://www.songkhla.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=32&Itemid=12

ทะเลจังหวัดภูเก็ต

ทะเลจังหวัดภูเก็ต

ประวัติ

จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะต่างจากจังหวัดอื่นอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่พื้นที่ของจังหวัดทั้งหมดเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย
จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรี เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ




สัญญาลักษณ์ประจำจังหวัด



ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea sp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ประดู่ (Pterocarpus indicus)
คำขวัญประจำจังหวัด: ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

อ่าวฉลอง




อยู่ห่างตัวเมือง 11 กม. ทางทิศใต้ของเกาะภูเก็ตไปตามทางที่ไปหาดราไว เมื่อถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กม.ถึงอ่าวฉลอง มีสะพานไม้ทอดยาวไปในทะเล ชายหาดเป็นรูปโค้งยาวเหยียดมองเห็นทิวมะพร้าวริมหาดเอนลู่ออกทะเล ทะเลบริเวณนี้ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะหาดเป็นโคลน ที่อ่าวฉลองนี้นักท่องเที่ยวจะเช่าเรือไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ หรือเช่าไปตกปลาได้



หาดในหาน





เป็นหาดที่อยู่ถัดจากแหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนือ 
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 18 กิโลเมตร มีทางไปได้หลายทาง จะไปจากหาดราไวย์ โดยผ่านหรือไม่ผ่านแหลมพรหมเทพก็ได้ หรือถ้ามาจากห้าแยกฉลองไปทางหาดราไวย์ ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปบ้านใสยวน หนองหาน ประมาณ 4 กิโลเมตร ชายหาดในหานไม่ยาวนัก หาดทรายขาวสะอาด ด้านหลังของชายหาดเป็นบึง ชาวบ้านเรียกว่าหนองหาน ระหว่างทะเลและบึงมีเพียงหาดทรายของหาดในหานขวางกั้นอยู่เท่านั้น ในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม คลื่นจะแรงมาก ไม่ควรลงเล่นน้ำเพราะอาจเกิดอันตรายได้ 


หาดกะรน





อยู่ถัดจากอ่าวกะตะขึ้นไปทางเหนือมีเพียงเนินเขาเตี้ยๆ คั่นอยู่เท่านั้น แต่ถ้าจะไปที่กลางอ่าวกะรนและหมู่บ้านกะรน มีถนนแยกจากอ่าวกะตะไปอีกประมาณ 3 กม. อ่าวกะรนใหญ่กว่าอ่าวกะตะ มีชายหาดยาวเหยียด เหนือชายหาดเป็นเนินทรายสูงๆ ต่ำๆ มีสนทะเลต้นใหญ่ๆ และต้นตาลขึ้นเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หาดทรายที่อ่าวกะรนขาวสะอาดและละเอียดมาก

หาดราไวย์



อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 17 กม. เส้นทางจาห้าแยกฉลองไปสู่หาดราไวย์ เป็นระยะทาง 5 กม. (ทางหลวง 4024) เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดสายหนึ่งของภูเก็ตเพราะเป็นถนนเลียบชายหาดฝั่งตะวันออก หาดราไวย์ เป็นหาดมีชาวเลอาศัยอยู่ ไม่ได้เป็นหาดทรายสวยๆ ตามที่หลายคนเข้าใจนะครับ ที่นี่ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ แต่เป็นจุดที่ใกล้เกาะหลายเกาะซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น เกาะเฮ เกาะบอน เกาะโหลน เกาะราชา บริเวณนี้มีทัวร์ของชาวเลนั่งเรือหางยาวชมเกาะต่างๆ   ราคาไม่แพง และเราสามารถจ้างเหมาลำไปกลับเวลาใดก็ได้ ตย. เกาะราชา ใช้เวลาเดินทางไป ไม่เกิน 2 ชม. ราคา ประมาณ 1000 บาท แบบเหมาลำ ถ้าเป็นเกาะเฮ 700 บาท ราคาจะถูกว่า แพคเก็จทัวร์ ตามหาดป่าตอง และตัวเมือง เพราะไม่ต้องผ่านนายหน้า

แหลมพรหมเทพ




อยู่ห่างจากหาดราไวย์ประมาณ 2 กม. เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า บริเวณแหลมพรหมเทพเป็นส่วนที่สวยงามที่สุดส่วนหนึ่งของเกาะภูเก็ต เหนือแหลมพรหมเทพเป็นที่ราบสำหรับจอดรถซึ่งอยู่บนหน้าผาสูงริมทะเล จากหน้าผานี้จะมองเห็นแหลมพรหมเทพทอดยาวออกไปในทะเล จะเห็นเกาะหลายเกาะรวมทั้งเกาะแก้ว ทางด้านขวามือจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหานชัดเจน จากบนหน้าผามีทางเดินลงเขาไปจนถึงสุดแหลมพรหมเทพได้ เป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกได้งดงามยิ่งนัก



การเดินทางไปจังหวัดภูเก็ต

จากภูเก็ต มีบริการรถโดยสารธรรมดาจากสถานีขนส่ง ถนนพังงา ไปจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล หาดใหญ่ และเกาะสมุย รายละเอียดติดต่อ สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. 0 7621 1480, 0 7621 1977 นอกจากนั้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากภูเก็ตไปจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และหาดใหญ่ และบริษัท บางกอกแอร์เวย์ มีเที่ยวบินระหว่างภูเก็ต-สมุย ให้บริการอีกด้วย และมีเรือโดยสาร จากภูเก็ต ไป หมู่เกาะพีพี หรือ เรือนำเที่ยว ไปเช้าเย็นกลับ ระหว่างภูเก็ต กับ หมู่เกาะพีพี หรือ หมู่เกาะสิมิลัน ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว

รถยนต์ 
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง บ้านโคกกลอย จังหวัดพังงา ข้ามสะพานสารสิน เข้าจังหวัดภูเก็ต หรืออีกเส้นทางหนึ่งจากชุมพร ไประนอง พังงา ภูเก็ต รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ 862 กิโลเมตร




รถไฟ 
ไม่มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภูเก็ตโดยตรง หากต้องการเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี (อยู่ที่อำเภอพุนพิน) แล้วต่อรถประจำทางเข้าจังหวัดภูเก็ตใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020, 0 2220 4334 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง 
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปภูเก็ตทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2434 7192, 0 2435 5605, 0 2435 1199 (รถปรับอากาศ) และโทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) หรือ www.transport.co.th บริษัทเอกชน ติดต่อ บริษัท ภูเก็ต เซ็นทรัล ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2434 3233 ภูเก็ต โทร. 0 7621 3615, 0 7621 4335 และบริษัท ภูเก็ตท่องเที่ยว กรุงเทพฯ โทร. 0 2435 5018, 0 2435 5034 ภูเก็ต โทร. 0 7622 2107-9 สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. 0 7621 1480

เครื่องบิน
มีบริการเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ทุกวัน สอบถามตารางบิน และข้อมูลเพิ่มเติมที่สายการบินต่างๆ ดังนี้
1. การบินไทย โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 สำนักงานภูเก็ต โทร. 0 7621 1195, 0 7621 2499, 0 7621 2946 หรือ www.thaiairways.com
2. ภูเก็ตแอร์ โทร. 0 2679 8999 หรือ www.phuketairlines.com
3. บางกอกแอร์เวส์ โทร. 0 2265 5555 หรือ www.bangkokair.com
4. ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com
5. วันทูโก โทร.1126 หรือ www.fly12go.com
6. นกแอร์ โทร. 1318 หรือ www.nokair.co.th

สายการบินนกแอร์และวันทูโก เปิดบริการเที่ยวบินระหว่างภูเก็ต-หาดใหญ่ เริ่มพฤษภาคม 2550 นี้
บริษัท เดสทิเนชั่นแอร์ มีบริการเครื่องบินน้ำ ระหว่าง ภูเก็ต - กระบี่ เกาะพี่พี และเกาะลันตา หรือนำเที่ยวทางอากาศทะเลอันดามัน ติดต่อ บ.เดสทิเนชั่นแอร์ โทร. 0 2261 5323 หรือ www.destinationair.com (เปิดให้บริการ เดือนกรกฎาคม 2549)




ที่มา : http://www.thai-tour.com/thai-tour/south/Phuket/data/place_index.htm

ทะเลจังหวัดพัทลุง

ทะเลจังหวัดพัทลุง

ที่ตั้ง

   จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิปดาเหนือถึง 7 องศา 53 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 9 องศา 44 ลิปดาตะวันออก
ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร
ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 78 กิโลเมตรและความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ (พื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่)

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด



ดอกไม้ประจังหวัด

ดอกพะยอม ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุง
"เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน"

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย






เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย  

เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตามเส้นทางหลวงหมายเลข   4048   ผ่านอำเภอควนขนุน   ระยะทางจากตัวเมือง ประมาณ   32   กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 450 ตารางกิโลเมตร ทะเลน้อย มีความกว้าง 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึกโดยเฉลี่ย 1.2 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำต่างๆ เช่น บัว จูด หญ้าน้ำ กก ปรือ กง ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบที่มีนกน้ำ นกประจำถิ่นและ นกอพยพอยู่มากมายกว่า 187 ชนิด นกอพยพ ข้ามถิ่นจะมาในช่วงฤดูหนาว ระหว่าง เืดือนตุลาคม - เดือนมีนาคม เป็นช่วงที่มีนกมากที่สุด ปัจจุบัน ทะเล



หาดแสนสุขลำปำ






ห่างจากตัวเมืองพัทลุงประมาณ8  กิโลเมตร อยู่เลยวัดวังไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 อีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่มีทิวสนร่มรื่น ริมฝั่งทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย กลางวงเวียนมารูปปั้นฝูงปลาลำปำ   ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณลำปำ มีศาลากลางน้ำชื่อว่า "ศาลาลำปำที่รัก" สำหรับชมทิวทัศน์บริเวณทะเลสาบ และจากบริเวณ ชายหาด มีสะพานเชื่อมไปยังเกาะลอย ซึ่งเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของตะกอนป่าน้ำลำปำ นอกจากนี้ในบริเวณทะเลสาบสำปำ ยังมีปลาโลมาหัวบาตร ปลากฎให้เห็นบ่อยครั้ง


ภูเขาอกทะลุ





ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟพัทลุง   ภูเขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีความสูงประมาณ 250 เมตร มีบันไดสำหรับขึ้นยอดเขาเพื่อชมวิวทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

เส้นทางที่ 1 ตามทางหลวงหมายเลข 4 ถึงชุมพร (สี่แยกปฐมพร) แยกเข้าระนอง พังงา กระบี่ ตรัง จนถึงพัทลุง ระยะทางประมาณ 1,140 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 ตามทางหลวงหมายเลข 4 ถึงชุมพร ให้เข้าทางหลวงหมายเลข 41 จนถึงจังหวัดพัทลุง ระยะทาง 840 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 3 ตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 403 จากนั้นจึงเข้าทางหลวงหมายเลข 41 ที่ชุมทางเขาชุมทอง จนถึงพัทลุง

รถไฟ
     การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟผ่านอำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง รายละเอียดสอบถาม โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 สถานีรถไฟพัทลุง โทร. 0 7461 3106 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
     บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถกรุงเทพฯ – พัทลุง ทุกวัน มีรถออกที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02 894 6122 จองตั๋ว บขส. โทร. 02 422 4444  หรือ  www.transport.co.th

เครื่องบิน

     จังหวัดพัทลุงไม่มีสนามบิน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ตรังหรือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ จังหวัดสงขลาและ ต่อรถโดยสารไปพัทลุง





ที่มา : http://www.travelbestforyou.com/province/11/1

ทะเลจังหวัดพังงา

จังหวัดพังงา

จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจำปูน (Anaxagorea javanica)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เทพทาโร (Cinnamomum porrectum)
คำขวัญประจำจังหวัด: แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วย
ทรัพยากร



อุทยานแห่งชาติศรีพังงา

            อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อยู่ในเขตอำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว เนื้อที่ 153,800 ไร่ เป็นประเภทป่าดิบชื้น พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก ประกาศเป็นอุทยานเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ
น้ำตกตำหนัง เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 63 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร น้ำตกโตนต้นเตย เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 45 เมตร ตามทางเดินจะผ่านจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นป่าเขาที่สมบูรณ์ของอุทยาน




อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

      อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า "เก้า" หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้ คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลันได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา และปลาไหลมอเรย์ (moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ






อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

      อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย
หมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นที่บังคลื่นลมได้ดีทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ มอแกน หรือ “ยิบซีแห่งท้องทะเล” ประมาณ 200 คน ปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ



อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัด 190,265 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.17 ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ (พ.ศ. 2539) เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า เกาะโบยน้อย เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น

รถยนต์

สามารถใช้ได้สองเส้นทางได้แก่

เส้นทางแรก จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง จากนั้นจึงเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดพังงา รวมระยะทาง 788 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 12 ชั่วโมง

เส้นทางที่สอง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ไปจนถึงจังหวัดชุมพร และจากจังหวัดชุมพรให้ตรงไปใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 จนถึงอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 415 ผ่านอำเภอทับปุดเข้าสู่ตัวเมืองพังงา

รถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งแบบปรับอากาศและธรรมดา กรุงเทพฯ-พังงา บริการทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2435 1199 (รถปรับอากาศ) โทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) สถานีพังงา ถนนเพชรเกษม (หลังธนาคารหลวงไทย) โทร. 0 7641 2300, 0 7641 2014 หรือ www.transport.co.th

นอกจากนั้นจากจังหวัดพังงา มีรถโดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พัทลุง หาดใหญ่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สุไหง-โกลก อ.บ้านตาขุน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี และจากอำเภอเมืองมีรถประจำทางจากตลาดไปท่าเรือท่าด่านศุลกากร ที่สามารถเช่าเรือไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาได้ด้วย

เครื่องบิน

การเดินทางไปพังงาทางเครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินไปลงจังหวัดภูเก็ต จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร หรือเทียวบินไปจ้งหวัดระนอง จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงา โดยใช้เวลาเดินทางต่อประมาณ 3 ชั่วโมง

การเดินทางจากอำเภอเมืองพังงาไปยังอำเภอต่างๆ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร 
อำเภอตะกั่วทุ่ง 12 กิโลเมตร 
อำเภอทับปุด 26 กิโลเมตร 
อำเภอกะปง 47 กิโลเมตร 
อำเภอท้ายเหมือง 57 กิโลเมตร 
อำเภอตะกั่วป่า 65 กิโลเมตร 
อำเภอคุระบุรี 125 กิโลเมตร 
อำเภอเกาะยาว 138 กิโลเมตร





ที่มา : http://www.relaxzy.com/province/phangnga/howtogetthere.html
http://th.wikipedia.org/wiki/

ทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช

ทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช



ประวัติและอาณาเขต

             นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่ามีความหมายถึง "นครอันเป็นสง่าแห่งพระ ราชาผู้ทรงธรรม" มี 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง อำเภอสิชล อำเภอหัวไทร อำเภอลานสกา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอพรหมคีรี อำเภอขนอม อำเภอบางขัน อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอพระพรหม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ กิ่งอำเภอนบพิตำ และกิ่งอำเภอช้างกลาง


สัญลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช









ตราประจำจังหวัด :
             เป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์ ตามปีนักษัตรล้อมรอบ หมายถึง ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่17-18 มีทั้งหมด12 เมือง
ความหมายจังหวัด : นครอันงามสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกราชพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นแซะ
นกประจำจังหวัด : นกกินปลีหางยาวเขียว


อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ 


เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู่ในการดำเนินการ เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย โดยได้สำรวจและเก็บข้อมูลเบื้องต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยได้กำหนดที่ดินบางส่วนของป่าคลองธง คลองเหรง ป่าเขาออก ป่าเขาท้องโหนด ป่าเขาไชยสน ป่าเลนคลองขนอม เขาฝีหาย ป่าเขาวัง ป่าเขากรด ป่าไชยคราม-วัดประดู่ ป่าเขาหัวช้าง และหมู่เกาะ 8 เกาะ ได้แก่ เกาะมัดแตง เกาะมัดโกง เกาะราบ เกาะหัวตะเข้ เกาะวังนอก เกาะวังใน เกาะน้อย และ เกาะท่าไร่ ในท้องที่อำเภอสิชล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ท้องที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี




เกาะกระ


   เป็นอีกเกาะหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวไทย จ.นครศรีธรรมราช นับว่าเป็นเกาะที่
สวยงามคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ท้องทะเล เหมาะแก่การเที่ยวชมของผู้ที่รักใน
การดำน้ำ หรือผู้ชอบพักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติที่เงียบสงบ





ทางเลือกใน นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย


นครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 780 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง เครื่องบิน และรถไฟ

การเดินทางไป นครศรีธรรมราช 
โดยรถไฟ:
มีรถไฟออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเร็ว และรถด่วน ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 เว็บไซต์ www.railway.co.th
โดยรถยนต์:
จากกรุงเทพฯ ไปนครศรีธรรมราชได้ 2 เส้นทาง คือ

1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพร แล้วเปลี่ยนมาใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ จนถึงนครศรีธรรมราช

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อถึงชุมพรเดินทางต่อไปทางหลวงหมายเลข 41 มุ่งสู่สุราษฎร์ธานี จากสุราษฎร์ธานีเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ 780 กิโลเมตร

โดยรถประจำทาง:

มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง

สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com
โดยเครื่องบิน:
สายการบินนกแอร์มีเที่ยวบินไป-กลับนครศรีธรรมราชทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 1318, 0 2900 9955 เว็บไซต์ www.nokair.com

สายการบินไทยแอร์เอเชียมีเที่ยวบินไป-กลับนครศรีธรรมราช ออกทุกวัน สอบถามข้อมูลได้ที่โทร. 0 2515 9999 เว็บไซต์ www.airasia.com
การเดินทางภายใน นครศรีธรรมราช
ในตัวเมืองนครศรีธรรมราชมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งนครศรีธรรมราช โทร. 0 7534 1125

นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น ในอำเภอลานสกา นบพิตำ ทุ่งสง ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง

ระยะทางจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอพระพรหม 15 กิโลเมตร

อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร

อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร

อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร

อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร

อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร

อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร

อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร

อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร

อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร

อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร

อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร

อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร

อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร

อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร

อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร

อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร

อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร

อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร

อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร

อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร






ที่มา : http://www.kmitl.ac.th/~s9010347/nakhonsithammarat%20history.htm

ทะเลจังหวัดตรัง

ทะเลจังหวัดตรัง 





     จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยง เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย 

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด:ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น





ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
คำขวัญประจำเมือง: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา (The city of Phraya Rasda; broad-hearted citizen; delicious roast pork; origin place of para rubber; Lovely Si Trang flower; beautiful coral reef; charming sandy beach; and wonderful waterfalls.)

กระพังสุรินทร์ 

     เป็นสระน้ำธรรมชาติกว้างประมาณ 50 ไร่ มีสะพานคอนกรีตเชื่อมไปสู่ศาลากลางน้ำที่สร้างไว้อย่างสวยงาม เชื่อมถึงกันทั้ง 3 ศาลา รอบๆ บริเวณได้รับการแต่งเป็นสวนสาธารณะ




เกาะรอก ป็นหมู่เกาะขนาดปานกลาง ตั้งอยู่กลางทะเลใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักรู้กันว่า ต้องเดินทางจากจังหวัดตรังก็จะสะดวกกว่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมาช้านาน

    ปัจจุบันก็สามารถเดินทางจากเกาะลันตาก็สะดวก เพราะมีเรือทัวร์เดินทางไปทุกวัน หากเดินทางจากจังหวัดตรัง แม้จะไกลสักนิด แต่จะผ่านจุดท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ ของทะเลตรังด้วย เช่น เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะม้า เกาะแหวน ถ้ำมรกต





 เกาะกระดาน 

           ถือเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม แนวปะการังมีอยู่เกือบรอบเกาะ และมักเห็นปะการังโต๊ะโผล่พ้นน้ำยามน้ำลง



เกาะเชือก 

        อยู่ระหว่างเกาะมุกและเกาะไหง ท้องทะเลแถวเกาะเชือกเป็นแหล่งปะการังอ่อนสีสดใสที่สามารถอยู่ในน้ำตื้น เพราะกระแสน้ำไหลแรงพัดพาอาหารมาให้ นักดำน้ำจะพบปะการังอ่อนสีต่าง ๆ อาทิ สีขาว แดง ชมพูและม่วงที่แต้มสีสันให้ท้องน้ำ ขณะที่ฝูงปลาผีเสื้อคอขาวและผีเสื้อเทวรูปมากมายคอยสลับฉาก หากดำน้ำตื้น นักดำน้ำควรระวังอันตรายจากกระแสน้ำไหลแรง และควรใส่ชูชีพหรือเกาะเชือกไว้ทุกครั้ง



เกาะแหวน

    เกาะเล็ก ๆ นี้เป็นเขตสัมปทานรังนก บนเกาะไม่มีพื้นราบแต่ใต้ทะเลรอบเกาะมีปะการังสวยและหลากหลายในทุกด้าน ความที่มีนักท่องเที่ยวยังไม่มากนักในแถบนี้ ทำให้ปลาที่อาศัยบริเวณเกาะแหวนนี้ไม่ค่อยกลัวคน




การเดินทาง


ทางรถยนต์ส่วนตัว

      ตรังอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 828 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ทำได้ 2 ทาง คือ

       1. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะทางประมาณ 617 กิโลเมตร และตรงมาตามทางหลวงแผ่นดินสาย 41 สู่อำเภอทุ่งสง ระยะทาง 133 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 403 สู่ห้วยยอดระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 4 อีก 28 กิโลเมตร ถึงตรัง รวมเป็นระยะทาง 828 กิโลเมตร

       2. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ มาตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงชุมพร แยกเข้า ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง รวมระยะทาง 1,020 กิโลเมตร  
ทางรถไฟ

สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีตรังทุกวัน วันละ 2 ขบวน

ทางรถทัวร์

       จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดตรังทุกวัน








ที่มา : http://www.trangzone.com/general.php