ทะเล

จาก ทะเล

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทะเลจังหวัดระนอง

ทะเลจังหวัดระนอง



จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศสหภาพพม่า และทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร
ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก เป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร คำว่าระนอง เพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากจังหวัดระนอง มีแร่อยู่มากมาย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโกมาชุม (Dendrobium formosum)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
คำขวัญประจำจังหวัด: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง ("กาหยู" หมายถึงมะม่วงหิมพานต์)

อุทยานแห่งชาติแหลมสน (Laem Son National Park) 





เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ประกอบไปด้วยป่าชายเลน หาดทราย และแนวปะการัง มีพื้นที่ 315 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมอำเภอเมืองและอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
สภาพทางภูมิศาสตร์

อุทยานแห่งชาติแหลมสนประกอบไปด้วยชายฝั่งยาวประมาณ 60 กิโลเมตร มีหมู่เกาะ 2 แห่ง คือ หมู่เกาะกำใหญ่ และหมู่เกาะกำนุ้ย และเกาะอื่นๆอีก 8 เกาะ ได้แก่ เกาะหมู เกาะเปียกน้ำน้อย เกาะเปียกน้ำใหญ่ เกาะเทา เกาะค้างคาว เกาะล้าน เกาะกำหนุ่ย และเกาะไข่ใหญ่ ชายฝั่งมีลักษณะจม ก่อให้เกิดชายหาดแคบๆมากมาย มีคลองสั้นๆหลายสายที่ไหลมาจากที่สูงตอนในของแผ่นดินและไหลลงสู่ทะเลอันดามัน เช่น คลองของ คลองลัดโนด คลองขะนุด คลองบางเบน คลองเหล่านี้ได้พัดพาเอาตะกอนมาทับถมกันบริเวณปากคลองที่ไหลลงสู่ทะเลและพื้นที่ชายฝั่งโดยรอบ รอบๆหมู่เกาะกำและเกาะค้างคาวมีแนวปะการังเป็นจำนวนมาก เป็นที่หลบภัยและแหล่งผสมพันธุ์ของสัตว์น้ำหลายชนิด
[แก้]ความหลากหลายทางชีวภาพ

ชายฝั่งบริเวณปากคลองมีสภาพเป็นป่าชายเลน พืชที่พบในป่าบริเวณนี้ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก พังกาหัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ถั่วขาว ตะบูนขาว และตะบูนดำ ส่วนป่าชายเลนบนชายฝั่งบริเวณอื่น จะพบพืชประเภทลำแพน แสมขาว และโปรงแดง บนชายหาดบางแห่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ซึ่งมีพืชประเภทสนทะเล หยีทะเล และจิกทะเล บริเวณตอนในของเกาะต่างๆ และบนเขาปากเตรียมบนเกาะบางเบน มีลักษณะเป็นป่าดงดิบ พืชที่พบได้แก่ ยาง หวาย และระกำ
ภายในอุทยานจะพบนกได้อย่างน้อย 175 ชนิด โดยเป็นนกประจำถิ่นอย่างน้อย 122 ชนิด เช่น นกยางทะเล เหยี่ยวแดง นกกระแตแต้แว้ด นกอพยพที่ไม่ได้มาผสมพันธุ์ประมาณ 60 ชนิด เช่น นกปากแอ่นหางลาย นกสติ๊นท์คอแดง นกเด้าดิน นกนางนวลแกลบธรรมดา และนกอพยพตามฤดูกาล 12 ชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น นกจาบคาหัวเขียว นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว ในจำนวนนี้มีนกชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามระดับนานาชาติ คือ นกหัวโตมลายู ซึ่งจัดเป็นนกชนิดหนึ่งในสองชนิดของนกที่พบในเขตอุทยานที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยด้วย โดยอีกชนิดหนึ่งคือ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ ส่วนนกที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม มีอยู่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในเขตอุทยาน คือ นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล และมีนกอีก 2 ชนิดที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม คือ นกออก และนกเงือกกรามช้าง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในเขตอุทยาน ได้แก่ กระแตธรรมดา บ่าง ลิงลม ลิงกัง ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ อีเห็นธรรมดา หมีขอ หมูป่า กระจงเล็ก พญากระรอกดำ อ้นใหญ่ และเม่นหางพวง
[แก้]ความสำคัญและการใช้ประโยชน์

บริเวณหาดแหลมสนและหาดบางเบนเป็นแหล่งอาศัยของนกจำนวนมาก ส่วนแนวปะการังรอบเกาะกำและเกาะค้างคาวเป็นทั้งแหล่งอาศัย แหล่มหลบภัย และแหล่งผสมพันธุ์ของสัตว์ทะเลหลายชนิด และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น