ทะเล

จาก ทะเล

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555




ทะเลภาคใต้ของประเทศไทย





ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเล ทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมความยาวถึงประมาณ2,815กิโลเมตร
ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งทะเลไทยออกได้เป็น3 ส่วน คือ


1. ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือทะเลด้านอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่บริเวณจุดกึ่งกลางระหว่างปากแม่น้ำท่าจีนกับ แม่น้ำเจ้าพระยา เลียบไปทางตะวันออกจนจดเขตแดนราชอาณาจักรกัมพูชา ที่แหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด รวมความยาวประมาณ544กิโลเมตร

2. ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย เริ่มจากจุดกึ่งกลางระหว่างปากแม่น้ำท่าจีนกับแม่ น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ จนจดเขตแดนมาเลเซีย ที่ปากแม่น้ำสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมความยาว ประมาณ 1,334 กิโลเมตร

3. ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันตก หรือ ฝั่งทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย นับตั้งแต่ปากน้ำกระบุรี จังหวัดระนอง ซึ่งจดกับเขตแดนของสหภาพพม่า เรื่อยไปทางใต้จนถึงเขตแดนของมาเลเซียที่จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ในช่องแคบมะละกา รวมความยาว ประมาณ 937 กิโลเมตร



ทั้ง 3 เขตทะเลของไทยมีไหล่ทวีปกว้างรวมกันประมาณ350,000 ตาราง กิโลเมตร และมีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก มีธรรมชาติงดงามให้เดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงเวลาที่ปราศจากลมมรสุม และเหมาะสำหรับท่องเที่ยวทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตก หรือฝั่งอันดามัน และทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ส่วนทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีเกาะที่สำคัญ คือ เกาะสีชัง เกาะล้าน เกาะเสม็ด หมู่เกาะมัน และเกาะช้าง มีแหล่งท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งที่เป็นที่นิยม เช่น หาดบางแสน หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี และหาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง เป็นต้น ส่วนหมู่เกาะสำคัญของฝั่งทะเลภาคใต้ด้านอ่าวไทย ประกอบด้วยเกาะเต่า เกาะสมุย หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะพะงัน เป็นต้น
สำหรับเกาะที่สำคัญของฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ประกอบด้วยเกาะภูเก็ต หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะลันตา เกาะยาว เกาะพระทอง หมู่เกาะพีพี และหมู่เกาะตะรุเตา เป็นต้น

ชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่งของไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ด้วยอุณหภูมิของน้ำทะเลประมาณ26-31 องศาเซลเซียส และ มีค่าความเค็มของน้ำทะเลอยู่ในระดับที่เหมาะกับการเจริญ เติบโตของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ทะเลไทยจึงนับเป็นท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก


ที่มา : http://www.patongbeachthailand.com




การเตรียมตัวเที่ยวทะเล





1. หาข้อมูลเกี่ยวกับทะเลหรือหมู่เกาะที่จะไปให้มากที่สุด เพื่อง่ายต่อการจัดโปรแกรมการเดินทาง
2.ติดต่อจองตั๋วรถ เรือ ที่พักให้พร้อม หากเป็นที่พักในเขตอุทยานแห่งชาติ ควรต้องติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
3.พักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมฟิตร่างกายให้พร้อมกับการเดินทาง
4.ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มมึนเมา เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนแอจากการเดินทางมากขึ้น และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายระหว่างขึ้น-ลงเรือ
หรือเล่นน้ำได้
5.ไม่ควรเตรียมสัมภาระไปมากมายเกินความจำเป็น เพราะจะไม่สะดวกต่อการลงเรือ ขึ้นฝั่ง
6.เตรียมเสื้อผ้า รองเท้า หมวก ที่เหมาะแก่การเที่ยวทะเล
7.เตรียมครีมกันแดด หรือเสื้อคลุมแขนยาวไปด้วย เพื่อจะได้ไม่ถูกแดดเผาจะเกินไป
8.เตรียมยาที่จำเป็น ยาทากันยุงกันแมลงติดไปด้วย เพราะบางชายหาดมักมีตัวแมลงเล็กๆที่กัดแล้วเกิดอาการคัน
9.เตรียมไฟฉายเล็กๆติดตัวไปด้วย เพราะที่พักตามเกาะห่างไกลส่วนใหญ่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรืออาจมีเป็นช่วงเวลาเท่านั้น






ผิวกาย :แน่นอนค่ะ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า แสงแดดจ้าของชายหาดเนี่ย เป็นอันตรายต่อผิวของเรา ไม่เพียงแค่ทำให้ดำคล้ำหมองเท่านั้น ถ้ารับแสงแดดมากเกินไป ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนังเข้าไปด้วย ดังนั้น เราควรจะหลีกเลี่ยงการเดิน หรือนอนอาบแดด ในช่วง 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมง เพราะช่วงเวลานี้ แดดแรงสุด ๆ ค่ะ นอกจากนั้น ควรจะทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปค่ะ


สวมแว่นกันแดด : จะช่วยป้องกันดวงตาจากรัวสียูวีได้ แต่เวลาเลือกซื้อ ต้องเลือกแว่นที่เขาลงน้ำยากันยูวีไว้นะคะ จะช่วยป้องกันแสงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นแว่นกระจกสี สวย ๆ ขายกันตามแฟชั่น ราคาถูก ๆ นั้น อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรเลยค่ะ แค่ใส่แล้วสวยเปรี้ยวอย่างเดียวเท่านั้น

พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เพราะจะเป็นตัวเร่งให้ร่างกายขจัดน้ำออกมา เพราะอากาศที่มีแดดร้อนเปรี้ยงนั้นก็ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำอยู่แล้ว ทางที่ดีควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ เข้าไว้ค่ะ

สังเกตกระแสลม : ลมที่แรงมากมักจะมากับคลื่นสูง หากว่ามีลมแรงเราก็ไม่ควรจะออกทะเลค่ะ

อย่าว่ายน้ำคนเดียว : แม้ว่าคุณจะเป็นนักว่ายน้ำก็ตามที ควรหาเพื่อนที่จะช่วยกันดูแลได้

ไม่ควรเล่นน้ำหลังรับประทานอาหารอิ่ม :เพราะจะทำให้เป็นตะคริวที่ท้อง และทำให้จมน้ำได้ ควรพักประมาณ 1 ชั่วโมงหลังอาหารค่ะ

ไม่ควรออกไปว่ายน้ำในทะเลลึก :บางคนมัวแต่ดำน้ำดูปะการัง รู้ตัวอีกทีก็ไปไกลแล้ว ทีนี้ตอนว่ายน้ำกลับเข้าฝั่ง จะเหนื่อยมาก หรืออาจจะทำให้เป็นตะคริวจมน้ำได้เหมือนกัน

สวมชูชีพเสมอเวลาจะขึ้นลงเรือ : โดยเฉพาะเรือเล็ก แต่ถ้าเป็นเรือใหญ่ให้สังเกตเอาไว้ว่า เขาเก็บชูชีพไว้ตรงไหน หากเกิดเหตุจะได้หยิบมาใส่ได้ทัน

การเล่นกีฬาทางน้ำก็ต้องสวมชูชีพ :ไม่ว่าจะเป็นบานาน่าโบ๊ต เจ็ตสกี เรือใบ ควรสวมชูชีพตลอดเวลาเพราะหากเกิดเหตุขึ้นมา ต้องลอยคอในทะเล ชูชีพจะช่วยได้มากทีเดียว

สังเกตธงสัญญลักษณ์ตามชายหาด : จะมีการปักธงเพื่อแสดงระดับความลึกของน้ำ ถ้าเห็นธงสีแดงสองอัน แปลว่าอันตรายมาก อย่าลงเล่นเด็ดขาด ถ้าธงแดงอันเดียว คืออันตราย ถ้าธงเหลือง หมายถึงให้ระวังแต่ก็ไม่ถึงกับห้ามเล่น แต่ถ้าธงเขียว เล่นได้ไม่อันตรายค่ะ

กรณีเกิดอุบัติเหตุทางน้ำเช่นเรือล่ม : สิ่งที่ต้องทำคือ ตั้งสติให้ดี สละข้าวของหนัก ถอดรองเท้า แล้วพยายามว่ายน้ำอยู่ใกล้ ๆ เรือ หาวัตถุที่ลอยน้ำได้เกาะพยุงตัวไว้ เพื่อรอความช่วยเหลือ

ถ้าเดินเล่นแถวชายหาด แล้วเห็นน้ำทะเลลดอย่างรวดเร็ว : อย่ามัวตื่นตาตื่นใจ รีบขึ้นไปในที่สูงให้เร็วที่สุด เพราะคลื่นยักษ์อาจจะตามมา




ที่มา : 
9  อันดับทะเลภาคใต้
อันดับดับที่ 9 เกาะตะปู จ.พังงา


อันดับที่ 8 เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี


อันดับที่ 7 หัวหิน จ.ประจวบศีรีขันธ์


อันดับที่ 6 พัทยา จ.ชลบุรี


อันดับที่ 5 เกาะช้าง จ.ตราด


อันดับที่ 4 เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี


อันดับ 3 หมูเกาะพีพี จ.กระบี่


อันดับที่ 2 หมู่เกาะสิมิรัน จ.พังงา


อันดับ 1 หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต